วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

1.1.3 ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)

1.1.3 ) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)
                http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจาก
การที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
                http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 
                http://surinx.blogspot.com/ กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7    ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทาง ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
               http://dontong52.blogspot.com/   ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดว่า นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
                    1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
                    2) จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
                    3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
                    4) ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
                    5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
                    6) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
                http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486    ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดว่า นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส 
                http://www.oknation.net  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัส
ทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
                http://dontong52.blogspot.com  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า  นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค วิลเฮล์ม วุนด์ ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้
                1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม
                2) จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
                3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ
                4) ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ
                5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ
                6) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่
                Bigge (1964 : 33- 47) กล่าวไว้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้

ก. ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
1) มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอก หรือสิ่งแวดล้อม (neutral-active)
2) จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาททั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มากๆ ในหลายๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
3) วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
4) ทิชเชเนอร์ มีความเห็นเช่นเดียวกับ วุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
5) แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสารทสัมผัส (sense activity) ขั้นการจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ (conceptual thinking or understanding)
6) แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1) การจัดให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
2) การช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้อย่างดี
3) การสอนโดยดำเนินการตาม 5 ขั้นตอนของแฮร์บาร์ต จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ขั้นตอนดังกล่าวคือ
3.1)  ขั้นเตรียมการ หรือขั้นนำ (preparation) ได้แก่ การเร้าความสนใจของผู้เรียนและการทบทวนความรู้เดิม
3.2)  ขั้นเสนอ (presentation) ได้แก่ การเสนอความรู้ใหม่
3.3) ขั้นการสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ (comparison and abstraction) ได้แก่ การขยายความรู้เดิมให้กว้างออกไป โดยสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบ การผสมผสาน ฯลฯ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงใหม่ที่สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
3.4) ขั้นสรุป (generalization) ได้แก่ การสรุปการเรียนรู้เป็นหลักการหรือกฎต่างๆ ที่จะสามารถจะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์อื่นๆ ต่อไป
3.5) ขั้นประยุกต์ใช้ (application) ได้แก่ การให้ผู้เรียนนำของสรุปหรือการเรียนรู้ที่ได้ไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เหมือนเดิม    
               

กล่าวโดยสรุป “ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดเป็น”  การเรียนรู้  เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึก การเรียนรู้ของมนุษย์ว่าเกิดขึ้นได้ ควรมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโยงความรู้ไปสู่สถานการณ์ใหม่ได้  ต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี  สามารถทำให้เกิดทฤษฎีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น


เอกสารอ้างอิง

ทิศนา  แขมณี.   2552.  ศาสตร์การสอน.   พิมพ์ครั้งที่ 4.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์                                                   มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ
URL: http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm วันที่ 20/06/2011
URL:   http://www.learners.in.th/profiles/users/natchakan_parn  วันที่ 20/06/2011
URL:http://surinx.blogspot.com/ วันที่ 20/06/2011
URL: http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 .เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554
URL: http://dontong52.blogspot.com/.เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321. เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น